7 สัญลักษณ์ ที่บ่งบอกถึงความปลอดภายสำหรับอาหารและยา

7 สัญลักษณ์ ที่บ่งบอกถึงความปลอดภัยของการใช้วัสดุในการผลิต ว่าเป็น Foodgrade หรือไม่และแตกต่างกันอย่างไร

บรรจุภัณฑ์ในท้องตลาดปัจจุบันต่างมีความ
หลากหลายทั้งในรูปลักษณ์ และวัสดุที่ใช้ในการผลิต เช่น พลาสติก กระดาษ ไม้ และอื่นๆ ซึ่งวัสดุการผลิตที่ยกตัวอย่างมานี้
พลาสติก ถือเป็นวัสดุที่เราต้องตั้งคำถามอยู่

บ่อยครั้งว่า พลาสติกเหล่านี้ปลอดภัยต่อผู้บริโภคจริงหรือเปล่า? เพราะพลาสติกต่างถูกนำมาแปรรูปอย่างหลากหลาก และถูกใช้ในวัตถุประสงค์ที่ใช้แตกต่างกันไป จึงทำให้ “ฟู้ดเกรด” หรือเกรดอาหาร (Food Grade) เข้ามามีบทบาทความสำคัญ ในการช่วยบ่งบอกว่า วัสดุที่มีคำว่า “ฟู้ดเกรด (Food Grade)” นี้ถือว่ามีความสะอาด และปลอดภัยต่อผู้บริโภคแน่นอน หรือถ้าอธิบายให้เข้าใจกันง่ายๆก็คือฟู้ดเกรด (Food Grade) จะได้รับมาตราฐานที่รับรองว่าสิ่งนั้นๆ สามารถใช้กับการผลิตหรือสัมผัสกับอาหารได้ โดยตามปริมาณที่กฏหมายกำหนด ในสายการผลิตอาหาร เครื่องดื่ม ยา เครื่องสำอางค์ ก็ได้มีการใช้ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่เป็นฟู้ดเกรดตามมาตรฐานหรือกฏหมายกำหนด ทั้งนี้ก็เพื่อผู้บริโภคมีความปลอดภัยจากสารเคมี ที่เป็นอันตรายต่อร่างกายนั้นเอง

และฟู้ดเกรด (Food Grade) โดยทั่วไปจะใช้ใน
การบงบอก อธิบายเครื่องมืออุปกรณ์และ อุปกรณ์ที่มีคุณภาพเพียงพอ ที่จะใช้สำหรับการผลิตอาหาร การจัดเก็บอาหาร หรือเพื่อเตรียมอาหาร ซึ่งฟู้ดเกรด (Food Grade) มีความสำคัญด้านความปลอดภัยในทางปฏิบัติในหลายอุตสาหกรรม ที่จะทำให้ผู้บริโภครู้สึกปลอดภัย วางใจและยกระดับของสินค้าให้ก้าวสู้ระดับที่สูงขึ้น ทั้งยังตอบสนองลักษณะทางความนิยมทางสังคม และสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

 ชนิดของพลาสติกที่นิยมนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ ฟู้ดเกรด (Food Grade)

# 1 PETE (Polyethylene Terephthalate) น้ำทั่วไป, โซดาและน้ำผลไม้ขวด ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ (Reuse) เนื่องจากอาจพบการสะสมของแบคทีเรีย ต้องทำความสะอาดก่อนนำกลับมาใช้ใหม่ (แต่ไม่แนะนำ)

พลาสติกทั่วไปถือว่าปลอดภัยสำหรับอาหารและเครื่องดื่ม

# 2 HDPE (พลาสติกชนิดความหนาแน่นสูง)
# 4 LDPE (พลาสติกชนิดความหนาแน่นต่ำ)
# 5 PP (Polypropylene)

พลาสติกที่ไม่ปลอดภัยต่อการบรรจุอาหาร และเครื่องดื่ม ซึ่งอาจจะมีส่วนผสมที่เป็นอันตราย ได้แก่

# 3 PVC (Polyvinyl Chloride) สารก่อมะเร็งในระหว่างการผลิตและการเผา
# 6 PS (Polystyrene) สารก่อมะเร็งที่เป็นไปได้
# 7 อื่น ๆ (โดยทั่วไปจะหมายถึงสารโพลีคาร์บอเนต บางครั้งอาจใช้ป้ายสัญลักษณ์ว่า PC) อาจตรวจพบสาร BPA (Bisphenol-A) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งเช่นกัน
พลาสติกชนิดนี้จึงมักถูกนำไปใส่พวกน้ำยาล้างจาน น้ำยาซักผ้า หรือน้ำยาที่มีฤทธิ์เป็นกรดและทำอันตรายต่อร่างกาย
**** สินค้าเราทุกตัวใช้ HDPE ****
จึงมั่นใจได้ว่าปลอดถัย แน่นอนจร้าา
HDPE : High Density Polyethylene พลาสติกพอลิเอทิลีน (polyethylene, PE)
นิยมนำมาใช้ผลิตบรรจุภัณฑ์ พลาสติกมีความแข็งแรง ความใสไม่มากนัก แสงผ่านได้น้อย สามารถใช้ได้กับผลิตภัณฑ์ที่เป็นกรด และด่าง เพราะไม่ว่องไวต่อปฏิกิริยาเคมี มีความเหนียว ยืดหยุ่น ทนทานต่อการแตกหรือหักงอได้ดี ป้องกันการผ่านของอากาศได้ต่ำ จึงไม่เหมาะสำหรับบรรจุผลิตภัณฑ์ที่ใช้การอัดอากาศ ป้องกันการซึมผ่านของความชื้นได้สูงมาก ทนความร้อนได้เล็กน้อย

ใส่ความเห็น